โลโก้เว็บไซต์ ผอ.วิทยบริการฯ ร่วมวงเสวนาฯ Smart Elderly ''สูงวัย กายใจสุข'' บทบาทของเทคโนโลยีฯ ที่ดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุ  | หอสมุด มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

ผอ.วิทยบริการฯ ร่วมวงเสวนาฯ Smart Elderly ''สูงวัย กายใจสุข'' บทบาทของเทคโนโลยีฯ ที่ดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุ

เผยแพร่เมื่อ : พฤหัสบดี 1 เมษายน 2564 โดย ณัฏฐ์พัฒน์ คนมีฉลาด จำนวนผู้เข้าชม 1395 คน

ยังไม่มีคะแนนสำหรับบทความนี้ ผู้อ่านสามารถให้คะแนนบทความได้จากปุ่มข้างใต้

   วานนี้ (๓๑ มีนาคม ๒๕๖๔) เวลา ๐๘.๐๐ - ๑๒.๐๐ น. ดร.ประเสริฐ ลือโขง ผู้อำนวยการ สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา (สวส.มทร.ล้านนา) ร่วมกิจกรรม การเสวนา หัวข้อ “Smart Elderly : สูงวัย กายใจสุข” ณ ชั้น.๑ แผนกผู้ป่วยนอก (OPD : Out Patient Department) โรงพยาบาลเชียงใหม่ ฮอสพิทอล จังหวัดเชียงใหม่ มีนายแพทย์บัญชา ใจตรง รักษาการผู้อำนวยการโรงพยาบาลเชียงใหม่ ฮอสพิทอล และศาสตราจารย์เกียรติคุณ แพทย์หญิงกรรณิการ์ พรพัฒน์กุล นายกก่อตั้งสมาคมส่งเสริมบริการสุขภาพเชียงใหม่ เป็นผู้ดำเนินรายการ
   โดยรายละเอียดของกิจกรรมการเสวนาฯ ได้กล่าวถึงความหมายและองค์ประกอบสำคัญของ “Smart Elderly” ประกอบด้วย ๑.มุมมองภาพรวมของ Smart Elderly โดยนายไพรัช โตวิวัฒน์ คณะกรรมการร่วมภาคเอกชนจังหวัดเชียงใหม่ ได้กล่าวถึง มุมมองภาพรวมของคำว่า “Smart Elderly” จากภาคเอกชน ๒.ด้านอาหารและโภชนาบำบัด โดย ดร.ศิริพร เดชะอูป อุปนายกสมาคมส่งเสริมบริการสุขภาพเชียงใหม่ (ด้านโภชนาการ) กล่าวถึง อาหารเพื่อสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุ พร้อมด้วยนางผ่องพรรณ ปาละพงศ์ เจ้าของผึ้งน้อยเบเกอรี่ กล่าวถึง มุมมองเกี่ยวกับการผลิตอาหารว่างเพื่อสุขภาพของผู้สูงอายุ ๓.ด้านสุขภาพ โดยนายแพทย์บัญชา ใจตรง กล่าวถึง บทบาทของสถานพยาบาลในการส่งเสริมดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุ พร้อมด้วย แพทย์จีน ภาคภูมิ พิสุทธิวงษ์ กล่าวถึง บทบาทของการแพทย์ทางเลือกในการส่งเสริมดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุ ดร.อุษณีย์ วินิจเขตคำนวณ กล่าวถึง บทบาทของงานวิจัยและนวัตกรรมเพื่อสุขภาพของผู้สูงอายุ นางสาวฐาณิษา ต๊ะมา กล่าวถึง บทบาทของผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติเพื่อสุขภาพและความงามสำหรับผู้สูงอายุ และดร.ประเสริฐ ลือโขง กล่าวถึง บทบาทของเทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัลที่เข้ามามีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุ ๔.ด้านพัฒนาสมองและความรู้ โดยดร.กิตติพัฒน์ สุวรรณชิน กล่าวถึง บทบาทของสถาบันการศึกษาในการพัฒนาสมองและความรู้ให้กับผู้สูงอายุ ๕.ด้านสุขภาพจิต โดย อาจารย์ปฤษฐา ไชยลังการณ์ กล่าวถึง บทบาทของดนตรีและกิจกรรมนันทนาการต่อสุขภาพจิตที่ดีของผู้สูงอายุ นายวัชรพงค์ กลิ่นปราณีต กล่าวถึง บทบาทของสปาและการบำบัดด้วยธรรมชาติต่อสุขภาพจิตที่ดีของผู้สูงอายุ และนายวรรณชัย วงษ์ตะลา กล่าวถึง การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพและการออกกำลังกาย สำหรับผู้สูงอายุ

ที่มาภาพ/ข่าว : http://www.konlannanews.com/, https://www.facebook.com/ChiangmaiHospital2016
เขียนข่าว : ณัฏฐ์พัฒน์ คนมีฉลาด กลุ่มงานบริการสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้ สวส.มทร.ล้านนา







ออกแบบและพัฒนาโดย สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา